วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ผักกาดหอม

สรรพคุณของผักกาดหอม

  1. ผักกาดหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้ (ใบ)[2]
  2. น้ำคั้นจากทั้งต้นนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ทั้งต้น)[4
  3. ช่วยในการนอนหลับ ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย แก้อารมณ์เสียง่าย โดย ดร.ดันแคน (แพทย์ยุคกลางชาวอังกฤษ) ระบุว่าในใบหรือก้านของผักกาดหอมจะมีสารรสขมที่มีชื่อว่า “แลกทูคาเรียม” (Lactucarium) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการง่วงนอน ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย การรับประทานผักกาดหอมแบบสด ๆ ก่อนนอนหรือรับประทานเป็นอาหารมื้อเย็น จึงช่วยทำให้เรานอนหลับได้สบายยิ่งขึ้นนั่นเอง[2],[5
  4. ผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบโดยส่วนมาก จึงเป็นผักที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน[3]
  5. ผักกาดหอมอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือดหรือฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย หรือมีสมาธิสั้น การเรียนรู้ลดลง[3]
  6. น้ำคั้นจากใบช่วยแก้ไข้ได้ (ใบ)[2],[5]
  7. น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาแก้ไอได้เป็นอย่างดี (ใบ)[2],[5]
  8. เมล็ดผักกาดหอมตากแห้งประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ถ้าหากใช้ต้นให้ใช้เพียงครึ่งต้นรับประทานเพื่อช่วยขับเสมหะและแก้อาการไอ และไม่ควรใช้มากเกินไป (เมล็ด, ต้น)[5]
  9. น้ำคั้นจากใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (น้ำคั้นจากใบ)[2],[5]
  10. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)[4]
  11. การรับประทานผักกาดหอมจะช่วยในการขับถ่าย ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกได้ (ทั้งต้น)[4]
  12. น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้เป็นยาระบายได้ (ทั้งต้น)[4]
  13. ช่วยขับลมในลำไส้ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)[4]
  14. ช่วยขับพยาธิ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)[4]
  15. ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำคั้นจากใบ, เมล็ด)[2],[5]
  16. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เมล็ด)[5]
  17. เมล็ดผักกาดหอมใช้รักษาโรคตับ (เมล็ด)[5]
  18. น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้ทาฝีมะม่วงที่รีดเอาหนองออกแล้วได้ (ทั้งต้น)[4]
  19. ช่วยระงับอาการปวด (เมล็ด)[5]
  20. ช่วยแก้อาการปวดเอว (เมล็ด)[5]
  21. เมล็ดผักกาดหอมช่วยขับน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตร (เมล็ด)[2],[5]
ผักกาดหอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น