วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แตงกวา

ประโยชน์ของแตงกวา

  1. แตงกวามีสรรพคุณช่วยแก้กระหาย ลดความร้อนในร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น และช่วยเพิ่มความชุ่มชื้น
  2. ช่วยกำจัดของเสียที่ตกค้างในร่างกาย
  3. แตงกวามีสารฟีนอลที่ทำหน้าที่ต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ
  4. ผลและเมล็ดอ่อนมีฤทธิ์ช่วยต่อต้านมะเร็ง
  5. ช่วยลดความดันโลหิต (เถาแตงกวา)
  6. ช่วยรักษาสมดุลต่าง ๆ ในร่างกาย รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ระดับภูมิคุ้มกันให้อยู่ในสุขภาพดี
  7. ช่วยควบคุมระดับความดันเลือดและความสมดุลของสารอาหารในร่างกาย (โพแทสเซียม, แมงกานีส)
  8. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ ระบบการหมุนเวียนเลือด (แมกนีเซียม)
  9. ช่วยเสริมสร้างการทำความของระบบประสาท เพิ่มความจำ (ผล, เมล็ดอ่อน)
  10. ช่วยแก้อาการนอนไม่หลับ (ผล, เมล็ด)
  11. เส้นใยอาหารจากแตงกวาช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ให้พลังงานต่ำ เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
  12. ช่วยแก้ไข้ (น้ำแตงกวา)
  13. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ โดยใช้นำคั้นจากผลแตงกวานำมากลั้วคออย่างน้อยวันละ 3 ครั้งจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น
  14. ช่วยลดอาการนอนไม่หลับ (น้ำแตงกวา)
  15. ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร (น้ำแตงกวา)
  16. ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันและแก้อาการท้องผูก
  17. ช่วยแก้อาการท้องเสีย บิด (ใบแตงกวา)
  18. น้ำคั้นจากแตงกวามีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ
  19. ช่วยบำรุงระบบย่อยอาหารในร่างกาย
  20. น้ำแตงกวามีฤทธิ์ช่วยขับปัสสาวะ
  21. ช่วยลดอาการบวมน้ำ
  22. ทรีตเมนต์จากแตงกวาช่วยลดรอยเหี่ยวย่น ลดสิว ลดจุดด่างดำ ช่วยบำรุงทำให้ผิวหน้าอ่อนเยาว์ เพิ่มความชุ่มชื้น ไม่ทำให้หน้ามัน ทำให้ผิวขาวใส ช่วยบำรุงดวงตา แก้ปัญหาขอบตาคล้ำ ตาบวม บำรุงเส้นผม ป้องกันผมเสีย ฯลฯ
  23. จากผลงานวิจัยพบว่าแตงกวามีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อน ๆ ในการช่วยยับยั้งแบคทีเรีย กระตุ้นลำไส้เล็กและมดลูกให้หดตัว กระตุ้นการสร้างแบคทีเรีย ยับยั้งไทรอยด์เป็นพิษ ต่อต้านการกลายพันธุ์ ต้านการเจริญเติบโตของเนื้องอก ช่วยฆ่าพยาธิ กระตุ้นการสร้าง interferon ช่วยไล่แมลง ช่วยรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ลบรอยแผลเป็น เป็นต้น
  24. แตงกวาอุดมไปด้วยสารสำคัญหลายชนิดที่มีผลต่อการสร้างเสริมสุขภาพผิวที่ดี และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์ที่ให้ความชุ่มชื้นตามธรรมชาติหรือ Natural Moisturizing Factors (NMFs) และยังมีกรดอะมิโนซีสทีน (Cystine) และเมไธโอนีน (Methionine) ที่ช่วยทำให้เกิดความยืดหยุ่นแก่ผิวด้วย
  25. แตงกวามีสารแอนโทแซนทิน (Anthoxanthins) ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยต้านการอักเสบ ลดอาการปวดข้อเข่าและช่วยต้านเชื้อวัณโรคได้ การดื่มนำคั้นจากแตงกวาเป็นประจำก็จะช่วยบำรุงเส้นผม เล็บและผิวหนังได้เป็นอย่างดี และยังช่วยชะลอวัยให้เส้นผม แก้ปัญหาผมบางได้อีกด้วยแตงกวานิยมนำมารับประทานเป็นผักเคียงกับน้ำพริก อาหารจานเดียว ฯลฯ ช่วยผ่อนคลายความเผ็ด และช่วยแก้เลี่ยนในอาหารจานเดียว
  26. ประโยชน์ของแตงกวา ในปัจจุบันมีการใช้น้ำแตงกวานำไปผสมในเครื่องสำอางต่าง ๆ อย่างเช่น ครีมล้างหน้า เจลล้างหน้า สบู่ล้างหน้า ครีมแตงกวา ครีมบำรุงผิว ครีมลดริ้วรอย ครีมกันแดด โลชั่น เพื่อช่วยป้องกันผิวแห้งกร้าน ช่วยในการสมานผิว ทำให้ผิวดูมีน้ำมีนวล เป็นต้น
  27. เมนูแตงกวา เช่น ยำแตงกวาไข่ต้ม ต้มจืดแตงกวายัดไส้ ตำแตง ยำแตงกวาปลาทูน่า พล่าแตงกวาหมูย่าง แตงกวาผัดไข่ แตงกวาดอง ฯลฯ
แตงกวา

ผักกาดหอม

สรรพคุณของผักกาดหอม

  1. ผักกาดหอมมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงช่วยในการป้องกันและต่อต้านมะเร็งได้ (ใบ)[2]
  2. น้ำคั้นจากทั้งต้นนำมาใช้ปรุงเป็นยาบำรุงร่างกายได้ (ทั้งต้น)[4
  3. ช่วยในการนอนหลับ ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย แก้อารมณ์เสียง่าย โดย ดร.ดันแคน (แพทย์ยุคกลางชาวอังกฤษ) ระบุว่าในใบหรือก้านของผักกาดหอมจะมีสารรสขมที่มีชื่อว่า “แลกทูคาเรียม” (Lactucarium) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติทำให้เกิดอาการง่วงนอน ทำให้จิตใจสงบและผ่อนคลาย การรับประทานผักกาดหอมแบบสด ๆ ก่อนนอนหรือรับประทานเป็นอาหารมื้อเย็น จึงช่วยทำให้เรานอนหลับได้สบายยิ่งขึ้นนั่นเอง[2],[5
  4. ผักกาดหอมมีน้ำเป็นองค์ประกอบโดยส่วนมาก จึงเป็นผักที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน[3]
  5. ผักกาดหอมอุดมไปด้วยธาตุเหล็กที่ช่วยเสริมการสร้างเม็ดเลือดหรือฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง และยังช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย หรือมีสมาธิสั้น การเรียนรู้ลดลง[3]
  6. น้ำคั้นจากใบช่วยแก้ไข้ได้ (ใบ)[2],[5]
  7. น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาแก้ไอได้เป็นอย่างดี (ใบ)[2],[5]
  8. เมล็ดผักกาดหอมตากแห้งประมาณ 5 กรัมนำมาชงกับน้ำร้อน 1 ถ้วยกาแฟ ใช้ดื่มก่อนอาหารเช้าและเย็น ถ้าหากใช้ต้นให้ใช้เพียงครึ่งต้นรับประทานเพื่อช่วยขับเสมหะและแก้อาการไอ และไม่ควรใช้มากเกินไป (เมล็ด, ต้น)[5]
  9. น้ำคั้นจากใบมีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อ (น้ำคั้นจากใบ)[2],[5]
  10. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)[4]
  11. การรับประทานผักกาดหอมจะช่วยในการขับถ่าย ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการท้องผูกได้ (ทั้งต้น)[4]
  12. น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้เป็นยาระบายได้ (ทั้งต้น)[4]
  13. ช่วยขับลมในลำไส้ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)[4]
  14. ช่วยขับพยาธิ (น้ำคั้นจากทั้งต้น)[4]
  15. ช่วยขับปัสสาวะ (น้ำคั้นจากใบ, เมล็ด)[2],[5]
  16. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เมล็ด)[5]
  17. เมล็ดผักกาดหอมใช้รักษาโรคตับ (เมล็ด)[5]
  18. น้ำคั้นจากทั้งต้นใช้ทาฝีมะม่วงที่รีดเอาหนองออกแล้วได้ (ทั้งต้น)[4]
  19. ช่วยระงับอาการปวด (เมล็ด)[5]
  20. ช่วยแก้อาการปวดเอว (เมล็ด)[5]
  21. เมล็ดผักกาดหอมช่วยขับน้ำนมของสตรีหลังคลอดบุตร (เมล็ด)[2],[5]
ผักกาดหอม

ผักกะหล่ำปลี

ประโยชน์ของกะหล่ำปลี

  1. กะหล่ําปลี มีกรดทาร์ทาริก (Tartaric acid) ที่ช่วยยับยั้งและขัดขวางไม่ให้น้ำตาลและแป้งกลายเป็นไขมัน จึงมีส่วนในการช่วยลดน้ำหนักและคอเลสเตอรอลได้
  2. ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน เพราะกะหล่ำปลีดิบอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นผลดีต่อการเสริมสร้างและบำรุงกระดูก
  3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรง ป้องกันหวัด เพราะกะหล่ำปลีดิบมีวิตามินสูง
  4. ช่วยบำรุงผิวพรรณทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล และยังช่วยคงความอ่อนเยาว์ได้อีกด้วย
  5. กะหล่ำปลีมีสารเอสเมธิลเมโธโอนินที่สามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารได้
  6. ช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ โดยการบริโภคกะหล่ำปลีมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยลดโอกาสของการเป็นมะเร็งลำไส้ในผู้ชายได้ถึง 66%
  7. กะหล่ำปลีช่วยต่อต้านมะเร็งในตับและมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย
  8. ช่วยในการย่อยอาหารและล้างสารพิษทำความสะอาดลำไส้ เพราะกะหล่ำปลีดิบมีใยอาหารที่มีปริมาณพอเหมาะ จึงช่วยในการย่อยและกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  9. กะหล่ำปลีดิบช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอักเสบของแผลในลำไส้ และยังช่วยบำรุงลำไส้
  10. กะหล่ำปลี สรรพคุณช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
  11. กะหล่ำปลี ประโยชน์ช่วยแก้และบรรเทาอาการท้องผูก
  12. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  13. สรรพคุณกะหล่ำปลีช่วยแก้อาการเจ็บคอ
  14. ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับสบาย หลับสนิท เพราะกะหล่ำปลีดิบมีสารซัลเฟอร์ซึ่งมีส่วนช่วยระงับประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียด
  15. กะหล่ำปลีมีสรรพคุณทางยา มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
  16. สรรพคุณของกะหล่ำปลีช่วยบำรุงไต
  17. ช่วยบำรุงตับ ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของตับ ช่วยตับในการล้างสารพิษ
  18. ช่วยเพิ่มการสร้างของกลูตาไธโอนซึ่งจำเป็นต่อตับในการช่วยล้างสารพิษจากควันไอเสียและยาต่าง ๆ
  19. ช่วยรักษาระดับเอสโตรเจนให้คงที่
  20. ช่วยบรรเทาอาการปวดตึงคัดเต้านม โดยใช้กะหล่ำปลีมาประคบเต้านม ลอกกะหล่ำปลีออกเป็นใบแล้วนำมาประคบที่เต้านมข้างละใบ ใช้ผ้าพันทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที โดยไม่ต้องนวดคลึง อาการปวดตึงคัดก็จะหายไป
  21. กะหล่ำปลีมีกรดโฟลิก ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์
  22. ช่วยชะลอการเกิดผมหงอก กระตุ้นโปรตีนเคราติน (Keratin) ช่วยบำรุงรากผมเพราะกะหล่ำปลีมีวิตามินบี 5
  23. เมนูกะหล่ำปลีประโยชน์กะหล่ำปลี มีสรรพคุณช่วยแก้รสเผ็ดร้อนได้ สังเกตได้จากส้มตำ แม่ค้ามักจะใส่กะหล่ำปลีสด ๆ มาเป็นเครื่องเคียงให้รับประทานนั่นเอง
  24. สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานอาหารปิ้งย่างเป็นประจำ ควรรับประทานผักกะหล่ำปลีด้วย เพราะอุดมไปด้วย Sulforaphane ที่จะช่วยป้องกันการถูกทำลายของ DNA และลดความเสียหายของ DNA ในร่างกาย
  25. ประโยชน์ของกะหล่ำปลี ใช้ประกอบอาหาร โดยเมนูกะหล่ำปลีก็เช่น กะหล่ำปลีทอดน้ำปลา, ผัดกะหล่ำปลีใส่ไข่, กะหล่ำปลีตุ๋นซี่โครงอ่อน, กะหล่ำปลีตุ๋นเอ็นวัว, กะหล่ำปลีต้มยัดไส้หมู, กะหล่ำปลีม้วนใส่หมูบดปรุงรส, ถุงทองกะหล่ำปลี, ต้มกะหล่ำปลีเจ, แกงส้ม, แกงจืด, ห่อหมก, รับประทานร่วมกับน้ำพริก, ทำเป็นสลัด ฯลฯ

ผักกวางตุ้ง

ประโยชน์ของผักกวางตุ้ง

  1. ประโยชน์ของผักกวางตุ้งช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  2. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  3. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  4. ประโยชน์ผักกวางตุ้งช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ผักกวางตุ้งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง
  5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
  6. ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อเสื่อม ช่วยเพิ่มความกระฉับกระเฉง
  7. ช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก
  8. สรรพคุณผักกวางตุ้งเชื่อว่ามีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกล้ามเนื้อเสื่อม
  9. ช่วยแก้อาการเป็นตะคริว สำหรับใครที่เป็นตะคริวบ่อย ๆ ผักกวางตุ้งช่วยคุณได้ เพราะเป็นผักที่มีแคลเซียมสูง
  10. การรับประทานผักกวางตุ้งเป็นประจำจะไปทำให้ฟีโรโมน (Pheromone) หลั่งออกมา ซึ่งจะทำให้กลิ่นตัวหอม
  11. ประโยชน์กวางตุ้ง เป็นผักที่มีเส้นใยมากและมีไขมันน้อย ทำให้อิ่มท้อง รับประทานมากแค่ไหนก็ไม่ทำให้อ้วน
  12. ประโยชน์ของกวางตุ้งนิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ต้มจับฉ่าย แกงจืด ผัดผักกวางตุ้ง ฯลฯ

ผักบุ้ง

ประโยชน์ของผักบุ้ง

  1. ประโยชน์ของผักบุ้งข้อแรกคือมีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล
  2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัย ความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
  3. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้
  4. ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ
  5. ช่วยบำรุงธาตุ
  6. สรรพคุณของผักบุ้งต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน
  7. ต้นสดของผักบุ้งช่วยในการบำรุงโลหิต
  8. ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
  9. ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท
  10. ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก (รากผักบุ้ง)
  11. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  12. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
  13. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
  14. ช่วยแก้อาการเหงือกบวม
  15. ช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลือ อมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง
  16. ฟันเป็นรูปวด ให้ใช้รากสด 120 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู คั้นเอาน้ำมาบ้วนปาก
  17. ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง (รากผักบุ้ง)
  18. แก้เลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ ด้วยการใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทรายแล้วนำมาชงน้ำร้อนดื่ม
  19. ใช้แก้โรคหืด (รากผักบุ้ง)
  20. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
  21. ช่วยป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารจากผลของยาแอสไพริน
  22. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
  23. ยอดผักบุ้งมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ
  24. ช่วยทำความสะอาดของเสียที่ตกค้างในลำไส้
  25. ผักบุ้งจีนมีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง
  26. ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
  27. ช่วยแก้หนองใน ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
  28. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโล / น้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละ เอากากทิ้งแล้วใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม แล้วเคี่ยวจนข้นหนืด รับประทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
  29. ช่วยแก้อาการตกขาวมากของสตรี (รากผักบุ้ง)
  30. ผักบุ้งรสเย็นมีสรรพคุณช่วยถอนพิษเบื่อเมา
  31. รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนมีสรรพคุณช่วยถอนพิษสำแดง
  32. ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร
  33. ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
  34. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ผักบุ้งไทยต้นขาว)
  35. ดอกของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน
  36. ใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ผักบุ้งไทยต้นขาว)
  37. แก้แผลมีหนองช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนาน ๆ ทิ้งไว้พออุ่นแล้วเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง
  38. ช่วยแก้พิษตะขาบกัด ด้วยการใช้ต้นสดเติมเกลือ นำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด
  39. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  40. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยลดการอักเสบ อาการปวดบวม
  41. ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
  42. ใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดหรือผู้ที่ได้รับสารพิษต่าง ๆ เช่น เกษตรกร เป็นต้น
  43. นำมาใช้ในการประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะผัด แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยําผักบุ้งกรอบ เป็นต้น
  44. ผักบุ้งนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เหมือนกัน เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น (มีหลายคนเข้าใจผิดว่ากระต่ายชอบกินผักบุ้ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผักบุ้งมียาง ยกเว้นกระต่ายโต ถ้าจะให้กินไม่ควรให้บ่อยและให้ทีละนิด)
  45. ผักบุ้ง ประโยชน์ข้อสุดท้ายนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผักบุ้งแคปซูล ผงผักบุ้ง เป็นต้น

ผักคะน้า

ประโยชน์ของคะน้า

  1. สรรพคุณของผักคะน้ามีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายได้
  2. ผักคะน้ามีประโยชน์ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานในกับร่างกาย ทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
  3. ช่วยบำรุงผิวพรรณและป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ
  4. ผักคะน้ามีวิตามินซี ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้นมากขึ้น (วิตามินซี)
  5. สรรพคุณผักคะน้าช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
  6. สรรพคุณของคะน้ามีสารลูทีน (Lutein) ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจกได้ถึง 29% (ลูทีน)
  7. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมและยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย
  8. ประโยชน์ของผักคะน้า ช่วยบำรุงโลหิต
  9. ธาตุเหล็กและธาตุโฟเลตในผักคะน้ามีความสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง
  10. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
  11. ธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทำหน้าที่ช่วยขับออกซิเจนที่เลือดนำมาไว้ใช้
  12. ผักคะน้ามีแคลเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน (แคลเซียม)
  13. คะน้ามีสรรพคุณช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (แคลเซียม)
  14. สรรพคุณคะน้ามีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล
  15. ผักคะน้ามีแมกนีเซียมสูง ซึ่งช่วยลดความถี่ของอาการไมเกรนลงได้ (ธาตุแมกนีเซียม)
  16. ช่วยชะลอปัญหาความจำเสื่อม ทำให้อัตราการเปลี่ยนของความจำช้าลง และช่วยชะลอการเสื่อมของอายุสมอง (วิตามินอี)
  17. มีคุณสมบัติช่วยป้องกันยับยั้งการเจริญของเนื้องอก ยับยั้งสารก่อมะเร็ง ต่อต้านอนุมูลอิสระและสารก่อมะเร็ง ช่วยส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ที่ช่วยขับพิษของสารก่อมะเร็ง
  18. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด และมะเร็งเต้านม
  19. สรรพคุณของผักคะน้าช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง
  20. ผักคะน้ามีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาโรคหอบหืด เพราะช่วยลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบในหลอดลม และยังช่วยขยายหลอดลมของผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอีกด้วย
  21. ผักรสขมอย่างคะน้าช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลอดลมเมื่อถูกโจมตีด้วยละอองเกสรหรือฝุ่นที่ทำให้ร่างกายต่อต้าน
  22. ผักคะน้ามีสรรพคุณช่วยป้องกันโรคท้องผูก (เส้นใย)
  23. ประโยชน์ของผักคะน้าการรับประทานผักคะน้าเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดตะคริว
  24. ประโยชน์ผักคะน้า ช่วยรักษาสมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
  25. ช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ช่วยลดอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนในสตรีช่วงมีประจำเดือน
  26. เป็นผักที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาลเป็นพิเศษ เพราะผักคะน้าถือว่าจัดอยู่ในกลุ่มผักที่มีน้ำตาลน้อยที่สุดเลยก็ว่าได้ (3-5%)
  27. คะน้า ประโยชน์ช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์ (กรดโฟลิก)
  28. ผักคะน้ามีโฟเลตสูง จำเป็นอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงต่อการที่เด็กทารกพิการแต่กำเนิด (โฟเลต)
  29. ประโยชน์ของคะน้า ช่วยลดอาการกินของจุบจิบ เพราะแคลเซียมจะช่วยปรับระดับของฮอร์โมนให้คงที่ ทำให้ความอยากกินของจุบจิบสลายตัวไปได้ (ธาตุแคลเซียม)
  30. ประโยชน์คะน้า สามารถนำมาทำเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู เมนูคะน้าก็เช่น ผัดคะน้าหมูกรอบ ผัดผักคะน้า ยำก้านคะน้า ต้มจับฉ่าย คะน้าไก่กรอบ คะน้าปลาเค็ม คะน้าเห็ดหอม คะน้าปลากระป๋อง ข้าวผัดคะน้า เป็นต้น

ผักกาดขาว

สรรพคุณของผักกาดขาว

  1. ผักกาดขาวช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
  2. มีแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน
  3. ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง
  4. ช่วยให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
  5. ประโยชน์ผักกาดขาวช่วยแก้กระหาย
  6. ช่วยทำให้กล้ามเนื้อทำงานเป็นปกติ
  7. แคลเซียมมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิตสูง
  8. ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้ผนังหลอดเลือด
  9. ช่วยขับน้ำนม (ใบ)
  10. ผักกาดขาวมีออร์กาโนซัลไฟด์ (organosulffide) และฟลาโวนอยด์ ที่ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ
  11. ช่วยป้องกันโรคมะเร็งในลำไส้
  12. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
  13. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคตาบอดตอนกลางคืน
  14. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน
  15. มีส่วนช่วยกำจัดสารพิษ ของเสีย และโลหะหนักออกจากร่างกาย
  16. ผักกาดอุดมไปด้วยโฟเลตซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก
  17. ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงแข็งแรงมากขึ้น
  18. ช่วยแก้หืด (เมล็ด)
  19. ช่วยแก้อาการหวัด ด้วยการต้มหัวผักกาดดื่มเป็นน้ำ
  20. ช่วยแก้อาการไอและเสมหะ ด้วยการใช้หัวผักกาดพอประมาณ ใส่ขิงและน้ำผึ้งเล็กน้อยแล้วต้มกับน้ำดื่ม (หัวผักกาด, เมล็ด)
  21. ช่วยแก้อาการเสียงแห้ง ไม่มีเสียง ด้วยการคั้นน้ำหัวผักกาดขาว เติมน้ำขิงเล็กน้อยแล้วนำมาดื่ม
  22. ช่วยแก้เลือดกำเดาออก
  23. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด
  24. ช่วยรักษาแผลในปาก ด้วยการคั้นน้ำจากหัวผักกาดขาวแล้วนำมาใช้บ้วนปากเป็นประจำ
  25. ช่วยแก้อาการเรอเปรี้ยว ด้วยการนำหัวผักกาดขาวดิบมาหั่นประมาณ 3-4 แว่นแล้วนำมาเคี้ยวกินแก้อาการ
  26. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ (ใบ)
  27. ประโยชน์ของผักกาดขาวช่วยในการย่อยอาหาร (หัวผักกาด, ใบ)
  28. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ
  29. ช่วยแก้ท้องเสีย (หัวผักกาด, เมล็ด, ใบ)
  30. ช่วยแก้และบรรเทาอาการท้องผูก
  31. สรรพคุณของผักกาดขาวช่วยขับปัสสาวะ
  32. ประโยชน์ของผักกาดขาวช่วยแก้พิษสุรา
  33. ช่วยแก้อาการบวมน้ำ
  34. ช่วยรักษานิ่วในทางเดินปัสสาวะ
  35. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเหน็บชา
  36. ช่วยแก้อาการอักเสบ
  37. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกหรือแผลโดนสะเก็ดไฟ ด้วยการใช้หัวผักกาดนำมาตำให้แหลกแล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผล หรือจะใช้เมล็ดนำมาตำให้แหลกแล้วพอกก็ใช้ได้เช่นกัน (หัวผักกาด, เมล็ด)
  38. ช่วยแก้อาการฟกช้ำดำเขียว ด้วยการใช้หัวผักกาดหรือใบ นำมาตำให้ละเอียดแล้วพอกบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 60 กรัมนำมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาคลุกกับเหล้า (อุ่นให้ร้อน) แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (หัวผักกาด, ใบ, เมล็ด)
  39. เมนูผักกาดขาวก็ได้แก่ ผัดผักกาดขาว, แกงจืดผักกาดขาว, ต้มจืดผักกาดขาวยัดไส้ ฯลฯ

ผักโขม

ประโยชน์ของผักโขม

  1. ประโยชน์ของผักโขมผักโขมช่วยบำรุงกำลังทำให้มีสุขภาพแข็งแรง
  2. ผักโขมมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด จึงมีส่วนช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
  3. ช่วยส่งเสริมการสร้างคอลลาเจน เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับผิวหนัง จึงช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยได้
  4. ประโยชน์ของผักโขม ช่วยบำรุงและรักษาสุขภาพสายตา ป้องกันความเสื่อมของดวงตา
  5. มีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกพรุน
  6. ช่วยชะลอความเสื่อมของสมอง ชะลอปัญหาความจำเสื่อม
  7. ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
  8. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
  9. ช่วยรักษาจังหวะการเต้นของหัวใจให้คงที่
  10. ช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการเบื่ออาหาร
  11. เป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากกับผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ เพราะผักโขมอุดมไปด้วยโปรตีน
  12. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้
  13. แมกนีเซียมในผักโขมช่วยควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ
  14. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ
  15. ช่วยชะลอความเสื่อมของสายตา ลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคดวงตาเสื่อมได้สูงถึง 43%
  16. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งเต้านม มะเร็งปอด และมะเร็งรังไข่
  17. ช่วยกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย
  18. สรรพคุณของผักโขมช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  19. ใช้ถอนพิษไข้ ด้วยการนำรากมาปรุงเป็นยา (ราก)
  20. ผักโขม สรรพคุณช่วยดับพิษภายในและภายนอก (ทั้งต้น)
  21. วิตามินเคในผักโขมช่วยป้องกันภาวะเลือดไหลไม่หยุดได้
  22. ช่วยแก้อาการตกเลือด
  23. ช่วยแก้อาการแน่นหน้าอกและไอหอบ (ต้น)
  24. ใช้แก้อาการบิด มูกเลือด (ทั้งต้น)
  25. ช่วยแก้อาการแน่นท้อง
  26. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้สะดวก เพราะมีเส้นใยสูง
  27. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
  28. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก)
  29. ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวารและจมูก (ทั้งต้น)
  30. สรรพคุณของผักโขมช่วยแก้อาการปวดท้องประจำเดือน เพราะช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้อง
  31. ใช้แก้ผดผื่นคัน (ทั้งต้น)ผักโขม
  32. ผักโขมมีประโยชน์ช่วยรักษาฝี กลาก เกลื้อน (ทั้งต้น)
  33. ใช้รักษาแผลพุพอง (ทั้งต้น, ใบสด)
  34. สรรพคุณผักโขมช่วยแก้อาการช้ำใน
  35. ใช้แก้รำมะนาด (ทั้งต้น)
  36. การรับประทานผักโขมจะช่วยทำให้คุณรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นและอยู่ท้องนาน จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรือลดความอ้วน
  37. แก้อาการเด็กลิ้นเป็นฝ้าละอองและเบื่ออาหาร
  38. ซุปผักโขมเป็นเมนูอาหารที่เหมาะสำหรับหญิงตั้งครรภ์อย่างมาก เพราะมีประโยชน์หลากหลายและยังช่วยบำรุงร่างกายคุณแม่และเด็กให้มีสุขภาพแข็งแรง
  39. ผักโขมเป็นผักที่ช่วยบำรุงน้ำนมสำหรับคุณแม่ลูกอ่อนได้เป็นอย่างดี
  40. สำหรับชาวกรีกสมัยโบราณ ผักโขมถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นอมตะ และมีการใช้ภาพของใบผักโขมในการประดับที่อยู่ของหลุมศพต่าง ๆ
  41. ประโยชน์ผักโขม ใบอ่อน ยอดอ่อน ต้นอ่อน นำมาลวกหรือต้มให้สุก รับประทานเป็นผักจิ้มกินกับน้ำพริกต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น น้ำพริกปลาร้า กะปิ ปลาต่อม หรือจะนำมานึ่งพร้อมกับปลา นำไปทำแกงเลียง ทำเป็นผัดผัก ผักโขมอบชีส พายผักโขมอบชีส ผักโขมราดซอสงาขาว ปอเปี๊ยะไส้ผักโขมชีส ซุปครีมผักโขม ซุปผักโขม เป็นต้น

ผักชี

ประโยชน์ของผักชี

  1. ผักชีช่วยบำรุงและรักษาสายตา
  2. ช่วยให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผงรับประทานหรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล, ใบ)
  3. ประโยชน์ของผักชี ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (ใบ)
  4. ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ (ใบ)
  5. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด (ใบ)
  6. ช่วยกระตุ้นการทำงานของเลือดพลาสมาและกล้ามเนื้อ (ใบ)
  7. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง (ใบ)
  8. ช่วยขับเหงื่อ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการก็ได้ (ทั้งต้น)
  9. ใช้เป็นน้ำกระสายยา ช่วยกระทุ้งพิษไข้หัว ไข้อีดำอีแดง (ราก)
  10. ประโยชน์ของผักชี ช่วยแก้อาการหวัด (ใบ)
  11. ช่วยแก้ไอ (ใบ)
  12. ช่วยละลายเสมหะ ด้วยการใช้ต้นสดประมาณ 60 กรัมนำไปต้มกับน้ำดื่ม หรือจะคั้นเอาเฉพาะน้ำมาดื่มแก้อาการก็ได้ (ทั้งต้น)
  13. ผักชี ประโยชน์ช่วยแก้อาการสะอึก (ใบ)
  14. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ใบ)
  15. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ใบ)
  16. ประโยชน์ของผักชีไทย แก้อาการอาหารเป็นพิษ (ใบ)
  17. ใช้แก้อาการปวดฟัน เจ็บปาก ด้วยการใช้ผลนำมาต้มน้ำ แล้วนำมาอมบ้วนปากบ่อย ๆ (ผล)
  18. ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร ด้วยการใช้ผลแห้งนำมาบดเป็นผงรับประทานหรือนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล)
  19. ผลแก่ใช้เป็นเครื่องเทศ มีกลิ่นหอม เมื่อใช้ผสมกับตัวยาอื่น จะช่วยกระตุ้นต่อมในกระเพาะอาหารและลำไส้ เพิ่มน้ำดีให้มากขึ้น (ผลแก่)
  20. สรรพคุณของผักชีช่วยรักษาอาการปวดท้อง (ผล)
  21. ช่วยแก้อาการบิด ถ่ายเป็นเลือด ด้วยการใช้ผลประมาณ 1 ถ้วยชา นำมาตำผสมกับน้ำตาลทรายแล้วนำมาผสมน้ำดื่ม (ผล)
  22. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ผลประมาณ 2 ช้อนชานำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล)
  23. ช่วยย่อยอาหาร (ผล, ใบ)
  24. ผักชีมีสรรพคุณช่วยขับลมในกระเพาะ (ใบ)
  25. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร มีเลือดออก ด้วยการใช้ผลสดนำมาบดให้แตกผสมกับเหล้า ดื่มวันละ 5 ครั้ง หรือจะใช้ต้นสดประมาณ 120 กรัม นำมาใส่นม 2 แก้วผสมน้ำตาลดื่ม (ผล, ต้นสด)
  26. ช่วยแก้พิษตานซาง (ใบ)
  27. ช่วยแก้ตับอักเสบ (ใบ)
  28. สรรพคุณผักชีช่วยขับลมพิษ (ใบ)
  29. ช่วยแก้โรคหัด (ใบ)
  30. ใช้รักษาเหือด หิด อีสุกอีใส (ราก)
  31. สรรพคุณผักชีช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย และไข่ของแมลง (ใบ)
  32. ช่วยแก้เด็กเป็นผื่นแดง ไฟลามทุ่ง ด้วยการใช้ต้นสด นำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้าแล้วต้มให้เดือด นำมาใช้ทา (ต้นสด)
  33. ช่วยให้ผื่นหัดออกเร็วขึ้น โดยใช้ต้นสดนำมาหั่นเป็นฝอย ๆ ใส่ลงไปในเหล้า ต้มให้เดือด นำมาใช้ทา (ต้นสด)
  34. ช่วยลดอาการปวดบวมตามข้อ (ใบ)
  35. ใบนำมารับประทานเป็นผักแนม รับประทานกับอาหารอื่น หรือนำมาใช้ปรับแต่งหน้าอาหาร (ใบ)
  36. ประโยชน์ผักชี ช่วยถนอมอาหาร (ใบ)
  37. ช่วยดับกลิ่นเนื้อและกลิ่นคาวต่าง ๆ (ผล)